วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559


บันทึกกรียนรู้ครั้งที่ 3

วัจัร์ ที่ 22 สิ 255

ไม่มีการเรียนการสอนเพราะอาจารย์ไปประชุม

 


วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันจันทร์ ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

กิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้
         วันนี้ใครมาก่อนก็ไปหยิบตัวปั๊มมาปั๊มเพื่อเช็กชื่อว่ามาเข้าเรียน พอเพื่อนๆมาครบกันหมดทุกคนอาจารย์ก็อธิบายเรื่องการเรียนการสอนของวันนี้ว่าวันนี้เราจะเรียนอะไรกันบ้างให้นักศึกษาฟัง เพื่อที่นักศึกษาจะได้เอามาทำกันอย่างถูกวิธีหลังจากที่นักศึกษามาครบอาจารย์ก็เริ่มเข้าสู้เนื้อหาการเรียนการสอนของวันนี้



หลักเบื้องต้นในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
             การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยถือเป็นนโยบายที่สำคัญประการหนึ่งของการจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน การให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจะช่วยทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองได้เรียนรู้และเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการพัฒนาเด็ก ทำให้ดำเนินงานทางการศึกษาระหว่างบ้านกับโรงเรียนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของโรงเรียนและกิจกรรมการเรียนการสอน อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายทางการศึกษาทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างบ้านกับโรงเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการศึกษาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง 
                  Linda  Bierstecker, 1992 หมายถึง การให้ผู้ปกครองได้เข้าใจว่าเด็กได้ทำกิจกรรมอะไรที่โรงเรียน
อนุบาลหรือศูนย์เด็ก เพื่อให้ผู้ปกครองได้เข้าใจวิธีการที่จะช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ กุลยา 
ตันติผลาชีวะ (2544)  กล่าวว่า การศึกษาสำหรับผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเพื่อเสริมสร้าง
ศักยภาพการเลี้ยงดูเด็กให้ถูกต้องและมีพัฒนาการที่ดี วิธีการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองนี้มีหลายวิธีทั้งทางตรงและทาง
อ้อม การจัดการศึกษาอาจกำหนดเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม ขึ้นอยู่กับผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมายการศึกษาสำหรับผู้
ปกครองเป็นกระบวนการอย่างเป็นระบบที่จะสร้างให้ผู้ปกครองมีความรู้ของการเป็นผู้ปกครองและมีส่วนร่วมอย่าง
แท้จริงกับโรงเรียนในการที่จะพัฒนาเด็กให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาไปอย่างเต็มศักยภาพ
สรุปความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
            สรุปได้ว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะเด็กอยู่ใน
ความรับผิดชอบของสถาบันครอบครัว การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองถือเป็นกระบวนการทางสังคม ซึ่งสังคมมีหน้าที่
ถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลภายในสังคมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคม ทั้งในและนอกระบบ
 การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองจึงเป็นการช่วยเหลือพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้ที่เตรียมตัวจะเป็นพ่อแม่ให้ได้เรียนรู้ถึง
วิธีการในการดูแล อบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่เด็ก เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและได้รับประสบการณ์
ที่มีคุณค่า เพื่อการพัฒนาตนต่อไปในอนาคต
ความสำคัญของการให้การศึกษาแกผู้ปกครอง
                   Verna, 1972  กล่าวว่า การให้ความรู้ผู้ปกครอง จะช่วยให้ผู้ปกครองเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษาซึ่งกันและ
กัน อันจะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งต่อกัน ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เด็กเกิดความสับสน
              Galen,  1991  กล่าวว่า การให้ความรู้ผู้ปกครอง จะช่วยให้ผู้ปกครองได้รับข้อมูลที่ดีในการเลี้ยงดู และการเข้า
มาเกี่ยวข้องกับการศึกษาของผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จได้ อรุณ  หรดาล (2536)  กล่าวว่า การให้การ
ศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความสำคัญดังนี้
1. ช่วยให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก
2. ช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการอบรมเลี้ยงดู
3. ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงผลของการกระทำของตนเองที่จะมีต่อเด็กอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง
4. ช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย
5. ช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้และฝึกทักษะ เทคนิคและวิธีการจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
6. ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัย และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและผู้ปกครอง ซึ่งจะมีผลดีต่อตัวเด็กโดยตรง
สรุปความสำคัญของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง  
การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญที่มีต่อการศึกษาเด็กปฐมวัย สรุปได้ดังนี้
    1. เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
    2. เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก
    3. ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
   4. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
    5. ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง
วุตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
Linda  Bierstecker, 1992  ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองไว้ ดังนี้
1. เพื่อให้ผู้ปกครองได้เข้าใจวิธีดูแลเด็กและการจัดกิจกรรมของโรงเรียน
2. เพื่อให้ผู้ปกครองและครูประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาเด็กร่วมกัน
3. เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงความต้องการของเด็กและสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านได้อย่างถูก
การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยสรุปมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
 1. เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
 2. เพื่อให้ความรู้และวิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
 3. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
 4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
 5. เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน
รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปบมวัย
         การจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา การให้ความรู้ผู้ปกครอง จึงมีความ
สำคัญ ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ดำเนินงาน เพื่อจัดรูปแบบในการให้ความรู้เพื่อเข้าถึงเป้าหมาย รูปแบบการให้ความรู้ผู้
ปกครองสามารถกระทำได้ด้วยวิธีการดังนี้ 
การให้ความรู้แบบทางการ เช่น การบรรยาย  การอภิปราย การโต้วาที ฯลฯ 
การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ เช่น การระดมสมอง การประชุมโต๊ะกลม การประชุมกลุ่มย่อย
อรุณี  หรดาล (2536)  ได้เสนอรูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองที่เหมาะสมกับสังคมไทย ควรมีลักษะผสมผสาน
ระหว่างรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเนื้อหาความรู้ และขนาดของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีอยู่
ลักษณะ ดังนี้
1.  เป็นรายบุคคล  การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเป็นรายบุคคล ส่วนมากจะจัดแบบไม่เป็นทางการ เช่น การเยี่ยมบ้าน การสนทนา
2. กลุ่มขนาดเล็ก รูปแบบการให้ความรู้ในกลุ่มเล็ก ส่วนมากจะจัดแบบไม่เป็นทางการ เช่น การพบปะสนทนา การประชุมกลุ่มย่อย การประชุมโต๊ะกลม การระดมสมอง ฯลฯ
3. กลุ่มขนาดใหญ่ อาจจัดได้หลายรูปแบบทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การบรรยาย การอภิปราย การประชุมเชิงปฏิบัติการ
4. ระดับชุมชน เช่น การบรรยาย การปาฐกถาหมู่ การโต้วาที การอภิปรายกลุ่ม การสนทนา ฯลฯ
 5. ระดับมวลชน เช่น วิทยุ เทปเสียง วีดีทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์
จากรูปแบบดังกล่าวข้างต้นสามารถสรุปออกเป็นลักษณะของฐานการเรียนรู้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
    1. การใช้บ้านเป็นฐานในการเรียนรู้ (home base) เป็นการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับผู้ปกครองถึงที่บ้าน เช่น การเยี่ยมบ้าน การส่งจดหมาย เอกสารถึงบ้าน การจัดทำโฮมสคูล (Home School)
    2. การใช้โรงเรียนเป็นฐานในการเรียนรู้ (school base) เป็นการจัดกิจกรรมความรู้ให้ผู้ปกครองที่โรงเรียน เช่น การจัดแสดงผลงานเด็ก    การประชุม การจัดสัมมนา การจัดนิทรรศการ การจัดมุมผู้ปกครอง
    3. การใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้ (community vase) เป็นการเผยแพร่ความรู้ผ่านชุมชน เช่น หมู่บ้าน วัด โบสถ์ มัสยิดวิทยุ โทรทัศน์ ระบบอินเตอร์เน็ต วารสาร นิตยสาร สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมที่จัดโดยผ่านชุมชนประเภทต่างๆ พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถเลือกเรียนรู้ได้ตามความสนใจที่สอดคล้องกับสภาพทางครอบครัว สังคม และวัฒนธรรมของตนเอง นับเป็นแนวทางให้ความรู้ที่เหมาะสมกับผู้ปกครองในสังคมยุคปัจจุบันมากขึ้น
แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
ฉันทนา ภาคบงกช ได้เสนอแนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไว้ดังนี้ 
1.สำรวจความสนใจ ความต้องการรวมทั้งปัญหาต่างๆในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก โดยการสัมภาษณ์หรือใช้แบบสอบถาม
2.จัดบริการต่างๆเพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ปกครอง เช่น เชิญวิทยากรมาบรรยาย อภิปราบ สาธิต จัดห้องสมุดและศูยย์ของเล่นสำหรับเด็ก จัดศูนย์แนะแนว จัดตั้งชมรมหรือสมาคมผู้ปกครอง
บทบาทของผู้ปกครองในการร่วมกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
บทบาทของผู้ใฝ่หาความรู้
- การเป็นผู้ริเริ่ม
 - การให้ข้อเท็จจริง
 - การอธิบายความหมายเพิ่มเติม
 - การถาม
 - การแสดงความคิดเห็น
 - การสรุป
บทบาทของสมาชิกกลุ่มที่ดี
- การสนับสนุนให้กำลังใจ
 - การประนีประนอม
 - การเป็นผู้ฟังที่ดี
 - การเป็นผู้ถามที่ดี

 - การสังเกตและการจดบันทึกข้อมูล
แนวปฏิบัติของสถานศึกษา
        ในการจัดกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง สถานศึกษาถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ผู้ปกครองได้ประสบผลสำเร็จ
ในการเรียนรู้ ดังนั้นสถานศึกษาควรมีแนวปฏิบัติดังนี้
 1. รับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกที่ผู้ปกครองมีกับลูก
 2. ขณะที่พูดคุยกับผู้ปกครองเด็ก ไม่ใช้เป็นการพูดถึงเด็กในทางที่ไม่ดีเท่านั้น แต่ควรพูดถึงในสิ่งที่ดีที่เด็กสามารถพัฒนาขึ้นมาก
 3. ควรหลีกเลี่ยงคำอธิบายหรือใช้คำศัพท์ทางวิชาการในการอธิบายพูดคุยกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง
ผู้ปกครองถือเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อความเจริญเติบโต พัฒนาการ การเรียนรู้ การปลูกฝัง
คุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็กปฐมวัย การที่ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก
ปฐมวัย ก็จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในชีวิตตั้งแต่เริ่มต้น การให้ความรู้ผู้ปกครองนับเป็นงานที่ต้องอาศัยความ
ร่วมมือกับหน่วยงานทุกฝ่าย เพื่อดำเนินการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องให้ผู้ปกครอง หน่วยงานที่มี
บทบาทหลักในการให้ความรู้  แก่ผู้ปกครองคือ สถานศึกษา ซึ่งจะต้องดำเนินการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่อง 
การอบรมเลี้ยงดู การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ การจัดการศึกษาของสถานศึกษา บทบาทของผู้ปกครอง
กับการศึกษาของเด็กทั้งที่บ้านและสถานศึกษา โดยดำเนินการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยเลือกรูปแบบวิธี
การ ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการศึกษาของผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครอง รับประโยชน์สูงสุด 
ประกอบด้วย 3 รูปแบบ คือ บ้านเป็นฐานการเรียนรู้ โรงเรียนเป็นฐานการเรียนรู้ และชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้


การนำเอาไปประยุกต์ใช้
1.สามารถนำเอาความรู้ที่ได้ไปใช้กับชีวิตประจำวันได้สามารถนำแนวทางการเรียนการสอนที่ถูกต้องไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริง  
 2.รู้จักกระบวนการที่จะให้คำแนะนำกับผู้ปกครองอย่างละเอียดมากขึ้น เพื่อเป็นการศึกษาความรู้นี้ไว้เพื่อนำเเอาไปใช้กับชีวิตจริงในอนาคต
 3.สามารถนำแนวทางการเรียนการสอนที่ถูกต้องไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้

ประเมินผล

ประเมินตนเอง

 ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่พูดคุยเสียงดัง เวลาอาจารย์ถามถ้ารู้คำตอบก็จะตอบ แต่ถ้าไม่รู้คำตอบก็จะตั้งใจฟังอาจารย์


ประเมินเพื่อน 

        เพื่อนๆตั้งใจเรียนและฟังเวลาที่อาจารย์สอนกันอย่างตั้งใจทุกคน อาจจะพูดคุยกันเล็กน้อย

      ระเมินอาจารย์

 อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เป็นกันเองมาก สอนเนื้อหาที่เราไม่เคยรู้และไม่เข้าใจ อธิบายให้นักศึกษาฟังจนเข้าใจหาการเรียนการสอนใหม่ๆมาสอนนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาได้ตวามรู้ที่แปลกใหม่



วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

วันจันทร์ ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2559

กิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้

          การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย  เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์นั้นควรได้รับการดูแล ถ่ายทอดความคิด วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี และค่านิยมที่ดีงามจากผู้ที่ถือว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญและใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด อาจกล่าวได้ว่าบุคคลแรกที่สำคัญที่สุดในชีวิตมนุนย์คือ พ่อแม่ ผู้ปกครอง

ความหมาบของผู้ปกครอง
          ผู้ปกครองเป็นบุคคลที่มีความสำคัญและใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นพ่อแม่ืซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือ 1.ผู้ปกครองโดยสายเลือด 2.ผู้ปกครองโดยสังคม
สรุปได้ว่า ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นบิดา มารดา หรือบุคคลอื่นที่ให้การอบรมเลี้ยงดูใหเการศึกษาแก่เด็กที่อยู่ในการดูแล ดังนั้นในการกล่าวถึงผู้ปกครองจึงมีความหมายรวมถึงบุคคลที่เป็นพ่อแม่ด้วย

ความสำคัญของผู้ปกครอง
             ความสำคัญของผู้ปกครองจะเห็นได้ว่า ผู้ปกครองมีความสำคัญซึ่งมีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็นผู้ที่มีความหมายค่อชีวิตเด็กทั้งการเจริญเติบโตทางร่างกายและจิตใจเป็นผู้ที่เด็กมอบความรักด้วยความบริสุทธิ์ใจ ผู้ปกครองจึงเป็นผู้นำที่จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโต มีพัฒนาการที่เหมาะสมเพื่อการก้าวสู่โลกกว้างได้อย่างมั่นคงและมีความพร้อมในทุกด้าน จึงถือว่าผู้ปกครองเป็นผู้เสริมสร้างลักษณะที่พึงประสงคืด้วยความรักความเข้าใจตั้งแต่เยาวว์วัยเป็นรากฐานอนาคตของสังคมให้มีความสมบูรณ์และแข็งแรง
      บทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครอง
                  พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นบุคคลกลุ่มแรกที่มีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็นผู้สนับสนุนและวางรากฐานอันสำคัญยิ่งต่อการเจริญเติบโตของชีวิตมนุษย์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ภาวะแห่งความรับผิดชอบในการอบรมเลี้ยงดูและสายใยแห่งความผูกพันระหว่างพ่อแม่ ลูก เป็นพันธะที่จะต้องมีการดำเนินอย่างต่อเนื่อง เพื่อจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ การให้เด็กได้เจริญเติบโตสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเอง สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่าง  มีความสุข Christine Ward, 1998  ได้กล่าวถึง บทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครองว่า ผู้ปกครองเป็นผู้ที่ทำหน้าที่สำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการและทักษะการเรียนรู้ให้แก่เด็กตั้งแต่แรกเกิด เมื่อเด็กไปโรงเรียน ผู้ปกครองก็จะต้องเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการดูแลเด็กร่วมกับโรงเรียนในด้านการจัดการเรียนรู้ การปฏิบัติหน้าที่ดูแลเด็ก การจัดสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับโรงเรียน 
        อารี  สันหฉวี (2536)  ได้เสนอบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการฝึกเด็กให้ขยัน ฉลาด และเป็นคนดี
        กุลยา  ตันติผลาชีวะ (2542)  กล่าวว่า บทบาทและหน้าที่ที่สำคัญของผู้ปกครองคือ ต้องตระหนักถึงธรรมชาติของเด็กที่มีความเฉพาะที่ต้องเข้าถึงเด็ก มีร่างกาย มีจิตใจ มีการพัฒนา มิใช้แต่ตัวเด็กเองแต่เป็นทั้งเพื่อครอบครัวและสังคม ดังนั้นหลักการเลี้ยงเด็กจึงมี 3 ประการ ดังนี้
  1. หลักการทางจิตวิทยา
  2. หลักการทางพัฒนาการ
 3. หลักการทางวุฒิภาวะ
กรมวิชาการ (2545)  ได้กล่าวถึงบทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครองไว้ดังนี้
  1. เป็นแบบอย่างที่ดีของลูก
  2. ให้ความรักและความเข้าใจ
  3. เรียนรู้ร่วมกับเด็ก
  4. ยอมรับอารมณ์และความรู้สึกของลูก
  5. ไม่ปิดกั้นความรู้สึกของลูก
  6. ฝึกให้ลูกรู้จักการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
  7. ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
บทบาทและหน้าที่ด้านการอบรมเลี้ยงดู
               ภารกิจของพ่อแม่ ผู้ปกครอง คือ การอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกายอารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา บทบาทของพ่อแม่ในการเลี้ยงดูเด็กมี 3 ประการ คือ
 1.  เป็นผู้ให้การเลี้ยงดูเพื่อสร้างเสริมสุขภาพกายและใจที่ดีให้กับเด็ก
  2.  เป็นผู้ให้การศึกษาเบื้องต้น
  3.  เป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา
บทบาทและหน้าที่ด้านการส่งเสริมพัมนาการและการเรียนรู้
              การศึกษา ทำความเข้าใจและแสวงหาประสบการณ์ว่าเด็กในแต่ละวันมีพัฒนาการและการเรียนรู้อย่างไพพ่อแม่ ผู้ปกครอง สามารถส่งเสพัฒนาการและการเรียนรู้ให้ลูกได้อย่างถูกวิธี ดังนี้
  1ช่วยจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับกิจกรรมที่โรงเรียน
  2ส่งเสริมให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงให้มาก
  3สนทนาให้ความเป็นกันเองกับเด็ก ป้อนคำถามให้เด็กได้คิดหาคำตอบ
  4. ชมเชยเมื่อเด็กทำความดี ทำได้ถูกต้อง ในขณะที่ทำผิดก็ต้องชี้แจงให้เด็กเข้าใจให้ถูกต้องก่อนที่เด็กจะจำวิธีการผิดๆ ไปใช้
 5.  ให้เด็กมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ช่วยเหลืองานในบ้านที่เหมาะสมกับวัย
  6.  ให้อิสระแก่เด็กบ้างในบางโอกาส
  7.  สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดปัญญา
  8.  คอยติดตามการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ของเด็ก โดยไม่เข้มงวดกวดขันจนเกินไป
  9.  ติดต่อกับครูของเด็กเพื่อรับทราบปัญหาและให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาก่อนที่จะสายเกินแก้
บทบาทและหน้าที่ในการส่งเสริมการศึกษา
                  การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มนุษย์กับการศึกษาเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันตลอดชีวิต พ่อแม่ ผู้ปกครองถือเป็นบุคคลแรกที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริมการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพให้แก่เด็กในแนวทางที่เหมาะสมและช่วยส่งเสริมการศึกษาให้แก่เด็กดังนี้
 1.  ความอุทิศตน ในการมีเวลาให้กับลูกอย่างเต็มที่
  2.  มีจุดมุ่งหมายสูงส่งเพื่อลูก            3.  ช่างสังเกตถี่ถ้วน
  4.  ใช้สามัญสำนึกในการเลี้ยงลูก     5.  ปลูกฝังวินัย ความเป็นไทย              
สรุปบทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง 10 ประการ
 1.  ให้ความรักและสายสัมพันธ์ในครอบครัว
  2.  ให้ความเอาใจใส่และเอื้ออาทรต่อลูก
  3.  ทำตนให้เป็นแบบที่ดีแก่ลูก
  4.  ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ในสังคมเกี่ยวกับการปฏิบัติตน
  5.  ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้เป็นไปตามวัย
  6.  ให้หลักธรรมในการพัฒนาเด็กด้วยหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)
  7.  ส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย
  8.  ศึกษาการเจริญเติบโตของเด็ก
  9.  เอาใจใส่ดูแลสุขภาพ
  10. สนับสนุนเตรียมความพร้อมก่อนสู่สังคม    
บทสรุป
  1.  ให้ความรักและสายสัมพันธ์ในครอบครัว
  2.  ให้ความเอาใจใส่และเอื้ออาทรต่อลูก
  3.  ทำตนให้เป็นแบบที่ดีแก่ลูก
  4.  ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ในสังคมเกี่ยวกับการปฏิบัติตน
  5.  ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้เป็นไปตามวัย
  6.  ให้หลักธรรมในการพัฒนาเด็กด้วยหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)
  7.  ส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย
  8.  ศึกษาการเจริญเติบโตของเด็ก
  9.  เอาใจใส่ดูแลสุขภาพ
  10. สนับสนุนเตรียมความพร้อมก่อนสู่สังคม





การนำเอาไปประยุกต์ใช้
1.สามารถนำเอาความรู้ที่ได้ไปใช้กับชีวิตประจำวันได้สามารถนำแนวทางการเรียนการสอนที่ถูกต้องไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริง  
 2.รู้จักกระบวนการที่จะให้คำแนะนำกับผู้ปกครองอย่างละเอียดมากขึ้น เพื่อเป็นการศึกษาความรู้นี้ไว้เพื่อนำเเอาไปใช้กับชีวิตจริงในอนาคต
 3.สามารถนำแนวทางการเรียนการสอนที่ถูกต้องไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้

ประเมินผล

ประเมินตนเอง

 ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่พูดคุยเสียงดัง เวลาอาจารย์ถามถ้ารู้คำตอบก็จะตอบ แต่ถ้าไม่รู้คำตอบก็จะตั้งใจฟังอาจารย์


ประเมินเพื่อน 

        เพื่อนๆตั้งใจเรียนและฟังเวลาที่อาจารย์สอนกันอย่างตั้งใจทุกคน อาจจะพูดคุยกันเล็กน้อย

       ประเมินอาจารย์

 อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เป็นกันเองมาก สอนเนื้อหาที่เราไม่เคยรู้และไม่เข้าใจ อธิบายให้นักศึกษาฟังจนเข้าใจหาการเรียนการสอนใหม่ๆมาสอนนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาได้ตวามรู้ที่แปลกใหม่